Last updated: 13 ก.ค. 2565 | 434 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัญหาได้ยินไม่ชัด ต้องตะโกนคุย ถามอย่างตอบอย่าง สื่อสารผิดพลาด สารพัดปัญหาของการได้ยินในผู้ที่สูญเสียการได้ยิน บางท่านเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางพันธุกรรม การสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานๆ และตามช่วงวัยที่เสื่อมสภาพไปตามเวลา และเครื่องช่วยฟังก็กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับปัญหานี้
แต่ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีให้เลือกมากมายหลากหลายรูปแบบ หลายราคา และหลายคุณสมบัติ ดังนั้นการเลือกเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หรือไม่เคยใช้เครื่องช่วยฟังมาก่อน มีวิธีการเลือกเครื่องช่วยฟัง ง่ายๆเข้าใจง่าย ภายใน 10 นาที ดังต่อไปนี้
1. ระดับการสูญเสียการได้ยิน
ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังสําหรับผู้สูงอายุ ท่านจะต้องทราบระดับการสูญเสียการได้ยินว่าอยู่ในระดับใด หรือในระดับความดังกี่เดซิเบล (dB) โดยระดับการสูญเสียการได้ยิน มีทั้งหมด 5 ระดับ ดังภาพต่อไปนี้
หากท่านสูญเสียการได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบล ขึ้นไป ท่านจำเป็นจะต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
2. เครื่องช่วยฟังมีกี่ประเภท แล้วแบบไหนเหมาะสมกับใคร
ผลการวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน จะช่วยให้ท่านเลือกประเภทของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับการได้ยินได้มากยิ่งขึ้น และควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายที่สามารถรองรับกับการสูญเสียการได้ยินที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
• เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In The Ear/ Completely-In-Canal) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือพูดเสียงดังขึ้น (26 – 70 dB)
• เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind The Ear ) เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินในระดับมากถึงรุนแรง หรือต้องตะโกนคุย และผู้สูงอายุ (70 – 90 dB)
หมายเหตุ หากสูญเสียการได้ยินในระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป การใช้เครื่องช่วยฟังอาจจะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เพราะในท่านที่สูญเสียการได้ยินระดับนี้ควรได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาจะเหมาะสมกว่า
3. เลือกระบบไหนดี ถึงจะได้ยินชัดไร้เสียงรบกวน
ปัจจุบันเครื่องช่วยฟัง มี 2 ระบบ โดยเครื่องช่วยฟังที่ดีจะต้องตัดเสียงรบกวนทิ้งได้ เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินเสียงคำพูดได้อย่างชัดเจน และสามารถรับโทรศัพท์มือถือได้ แต่หากจะตัดสินใจซื้อทั้งที และต้องใช้งานในระยะยาว แนะนำว่าเลือกตามคุณสมบัติที่ท่านต้องการ ดังนี้
· แบบดิจิตอล
- เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไมโคชิพประมวลผลรวดเร็ว
- มีระบบตัดเสียงรบกวนภายนอก
- จับเสียงคำพูดได้ชัดเจน
- เสียงที่ได้รับธรรมชาติ
- ราคาค่อนข้างสูง
· แบบอนาล็อก
- เสมือนโทรศัพท์สมัยก่อน
- ราคาไม่สูง
- เสียงไม่ธรรมชาติ
- มีเสียงรบกวน
- คุณภาพไม่ทนทานเท่าดิจิตอล
4. แบตเตอรี่แบบไหนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์
เครื่องช่วยฟังส่วนมาก มีแบตเตอรี่ทั้งหมด 2 แบบ คือแบบชาร์จไฟและแบบใช้ถ่าน ทำให้การเลือกเครื่องช่วยฟังจำเป็นต้องใส่ใจส่วนนี้ และเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด ควรเลือกที่มีระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ที่ทนทาน อย่างน้อยๆ ก็สามารถสวมใส่และใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดวัน ดังนั้น เครื่องช่วยฟังควรมีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องอย่างต่ำ 8-20 ชั่วโมง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน
5. การรับประกันสินค้า และดูแลหลังการขาย
การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง สิ่งนึงควรคำนึงถึงการรับประกันสินค้า และดูแลหลังการขาย ซึ่งปัจจุบันศูนย์จำหน่ายเครื่องช่วยฟังให้เลือกหลากหลายบริษัท หลากหลายยี่ห้อ และรุ่น ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ สิ่งที่ท่านควรศึกษาเพิ่มเติมกับผู้ให้บริการ คือ
- ระยะเวลาการรับประกันและเงื่อนไขในการรับประกัน
- บริการหลังการขาย เช่น การแนะนำวิธีการปรับตัวของผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง การแนะนำวิธีการใช้งานเครื่องช่วยฟัง
- ศูนย์ให้บริการซ่อม หรือหน้าร้าน เช่น การมีหน้าร้านที่น่าเชื่อถือ การดูแลซ่อมเครื่อง ระยะเวลาการซ่อม ค่าใช้จ่าย/ราคาอะไหล่
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังจะต้องมั่นใจว่าหลังจากที่ท่านซื้อเครื่องช่วยฟังไปแล้วและเกิดปัญหาขึ้น ท่านสามารถกลับไปยังศูนย์ที่ให้บริการได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Call Center : 082-905-9030
Facebook : เครื่องช่วยฟังHearing Care Center
LINE : @Hearingcarecenter